การป้องกันและการแก้ไข
1. การจี้เขย่าคอนกรีตให้เพียงพอ ในการเทคอนกรีตแต่ละชั้นจะต้องจี้เขย่าคอนกรีตให้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อเทชั้นต่อไปการจี้คอนกรีตต้องให้หัวจี้ทะลุไปยังชั้นก่อนหน้านั้น และเขย่าให้ฟองอากาศเคลื่อนออกสู่แบบด้านข้างและผิวคอนกรีตด้านบน
2. การใช้แบบหล่อที่น้ำซึมได้ เมื่อใช้แบบหล่อที่น้ำไม่ซึม เช่น แบบหล่อเหล็ก จะต้องจี้เขย่าคอนกรีตมากกว่าปกติเพื่อไล่ฟองอากาศให้หลุดสู่ผิวคอนกรีต มีการทำวิจัยพบว่าการใช้แบบหล่อที่น้ำซึมได้ สามารถลดจำนวนรูตามดที่ผิวคอนกรีตได้อย่างชัดเจน เนื่องจากฟองอากาศสามารถซึมผ่านแบบสู่บรรยากาศได้ การเลือกใช้ประเภทของน้ำมันทาแบบ (Form-releasing agent) และใช้ปริมาณที่เหมาะสม สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพผิวคอนกรีตได้
3. ส่วนผสมคอนกรีต การใช้คอนกรีตที่สามารถไหลตัวได้ดีทำให้เทลงแบบได้ง่าย จี้คอนกรีตได้ง่าย ทำให้ลดโอกาสการเกิดรูตามดที่ผิวคอนกรีตได้ คอนกรีตที่ใช้มวลรวมที่มีขนาดคละดีทำให้ลดปริมาณมวลรวมละเอียดในส่วนผสม การใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ที่พอเหมาะ การใช้น้ำยาผสมคอนกรีตที่เพิ่มความสามารถการไหลของคอนกรีต ทำให้การจี้เขย่าคอนกรีตทำได้ง่ายขึ้น เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเกิดรูตามดที่ผิวคอนกรีตน้อยลง ในอุตสาหกรรมคอนกรีต (โดยเฉพาะการหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป) การใช้ Self-Compacting Concrete (SCC) ทำให้คุณภาพผิวคอนกรีตดีขึ้นอย่างชัดเจน
รูตามดที่ผิวคอนกรีตไม่ส่งผลต่อความทนทานของโครงสร้างคอนกรีต จากการเพิ่มขึ้นของการเทโครงสร้างคอนกรีตที่ไม่ฉาบผิวเป็นผลให้ความสนใจในคุณภาพคอนกรีตเพิ่มมากขึ้น ด้วยการใช้ส่วนผสมคอนกรีตและแบบหล่อที่เหมาะสม การเทและการจี้คอนกรีตที่ได้คุณภาพ การควบคุมงานก่อสร้างที่ดี เหล่านี้สามารถลดการเกิดรูตามดที่ผิวคอนกรีตได้
อ้างอิงจาก : cpacacademy.com